สำหรับการเดินทางมาที่เมืองมารุโมริ ถ้าจะให้ผมอธิบายการเดินทางในครั้งนี้ด้วยคำหนึ่งคำ ต้องขอบอกว่า “ไม่ซ้ำใคร” เนื่องจากผมได้สัมผัสประสบการณ์ “ครั้งแรกในชีวิต”จำนวนมากที่เมืองนี้ มีกิจกรรมที่น่าสนใจอยู่มากมายที่ให้นักท่องเที่ยวมาลองสัมผัสกัน
เมืองมารุโมริตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดมิยางิ โดยใช้เวลาขับรถจากเมืองเซนไดประมาณหนึ่งชั่วโมง คำว่า”มารุโมริ”นั้นมาจากที่ตั้งของเมืองซึ่งถูกล้อมรอบด้วยป่า มีแม่น้ำ Abukuma ไหลผ่านเมืองแห่งนี้
โรงงานผลิตกระดาษ Marumori Washi
โรงงานผลิตกระดาษ Marumori Washi เป็นโรงงานของตระกูล Shishido นับเป็นครั้งแรกที่ผมมีโอกาสได้ลองทำกระดาษด้วยมือของผมเอง
การผลิตกระดาษ Washi มีขั้นตอนที่เหมือนการผลิตกระดาษทั่วๆไป แต่จะใช้มือในการทำ
คุณ Nobuishige ได้แสดงให้ผมดูว่าการผลิตกระดาษมีกระบวนการหลายขั้นตอน เขาบอกว่าช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการผลิตกระดาษคือฤดูหนาว เพราะว่าน้ำที่มีอุณหภูมิเย็นจัดจะช่วยลดจำนวนแบคทีเรียและป้องกันการย่อยสลายของไฟเบอร์ได้
เนื่องจากใช้มือในการผลิต จึงต้องอาศัยความร่วมมือของเพื่อนร่วมงาน
กระดาษ Washi ผลิตมาจากต้น Gampi และ Mitsumata ทุกๆเช้าคุณ Nobushige และภรรยาของเขา Ritsuko จะเข้าไปเก็บเกี่ยววัตถุดิบสำหรับการทำกระดาษในป่า
คุณสมบัติพิเศษของกระดาษ Washi คือจะมีความแข็งกว่ากระดาษทั่วๆไป และใช้ในโอกาสพิเศษต่างๆ อาทิ เช่น ประกาศนียบัตรของผู้สำเร็จการศึกษา เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วที่ร้านยังมีคอร์สสอนทำโปสการ์ดอีกด้วย
ที่อยู่ด้านล่าง
ร้านโซบะ Shiraki
ร้าน Shiraki เป็นร้านโซบะที่มีชื่อเสียงของเมืองมารุโมริ
ร้านนี้มีประวัติยาวนานกว่า 100 ปี และเจ้าของร้านแห่งนี้ก็เป็นรุ่นที่ห้าแล้ว จริงๆแล้วรุ่นที่ห้าและแม่ของเขา (รุ่นที่สี่) เป็นคนคอยดูแลกิจการของร้านอยู่ พวกเขาบอกว่ามีความสุชกับการทำโซบะเป็นอย่างมาก
นอกจากจะอร่อยแล้ว ยังมีการตกแต่งอย่างสวยงาม ถึงจะสั่งชามใหญ่มาผมก็กินหมดครับ
ที่อยู่ด้านล่าง
โรงย้อมผ้า Aizome
ในช่วงบ่าย ผมได้มีโอกาสลองย้อมสีผ้าครั้งแรกในชีวิตที่โรงย้อมผ้า Aizome
สีย้อมผ้านั้นมีอยู่สองแบบคือ สีที่ได้จากธรรมชาติและสีที่มนุษย์ทำขึ้นมา แต่ที่ร้าน Aizome จะใช้สีที่ได้จากธรรมชาติในการย้อม
การย้อมแบบธรรมชาตินั้นนอกจากจะใช้เวลาเป็นอย่างมากแล้วยังมีต้นนทุนที่สูงอีกด้วย แต่ข้อดีของการย้อมแบบนี้คือจะปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า ที่น่าตกใจคือสีที่นำมาย้อมปลอดภัยจนสามารถนำมาทานได้เลยครับ
จุดเด่นของโรงย้อมสี Aizome คือจะใช้วัตถุดิบที่มาจากแวดล้อมเท่านั้น
นี่คือหม้อสำหรับย้อมสี โดยจะย้อมประมาณ 8-12 ครั้ง
หลังจากที่ย้อมเสร็จแล้วก็จะนำไปล้างด้วยน้ำเย็น จากนั้นนำไปตากและรีด
ผมภูมิใจกับผลงานของผมมากครับ ที่ร้าน Aizome นอกจากผ้าคลุมโต๊ะและผ้าเช็ดหน้าแล้ว ผลิตภัณฑ์หลักของทางร้านคือผ้าฝ้ายคุณภาพสูงที่ใช้เทคนิคการย้อมแบบพิเศษ ทำให้ได้ pattern ที่ดูแปลกตา
ที่อยู่ของร้านอยู่ด้านล่าง
เรียนรู้การทำหัวไชเท้าดอง
หัวไชเท้าเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยมากคนญี่ปุ่นมักนำหัวไชเท้ามาดอง การดองทำให้หัวไชเท้ามีสารอาหารเพิ่มขึ้นครับ
หัวไชเท้าจะถูกหั่นครึ่งและนำไปตากแดด
หลังจากตากแดดแล้วก็จะนำไปแยกขนาด ยิ่งขนาดเล็กมากเท่าไรยิ่งมีราคาสูงมากขึ้น
นี่เป็นเพราะความหนาแน่นของเนื้อหัวไชเท้า ความหนาแน่นนั้นบ่งบอกถึงสารอาหารที่มีอยู่ในตัวหัวไชเท้า
การทำหัวไชเท้าดองทำได้เฉพาะในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากต้องใช้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0 องศา เพื่อที่จะเก็บกลิ่นของหัวไชเท้าเอาไว้ ในขณะเดียวกันความชื้นจะถูกขับออก
กระบวนการเก็บรักษาอาหารนั้นเป็นภูมิปัญญาโบราณของชาวบ้าน ทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ใรบริเวณนี้มีอาหารกินในช่วงฤดูหนาว
หัวไชเท้าดองเป็นอาหารที่คนญี่ปุ่นรับประทานโดยทั่วไป
ผมได้ลองทานหัวไชเท้าดองดู อร่อยมากครับ